ไทยเฮลท์ สุขภาพไทย webboard

ถามตอบปัญหาสุขภาพ ข่าวสุขภาพ เกี่ยวกับโรค อาการ ยา การดูแลตนเอง โดยแพทย์เฉพาะทางอายุรกรรม ข่าวสุขภาพของไทยและข่าวสารต่างประเทศ . The health webboard for Health Advise , ask health related questions and answers from our doctor team MD. (Internist) , health news from Thailand and around the world.

Live Update :ข่าวการระบาดโนโรไวรัสที่ระยองเป็นข่าวปลอม

Please or Register to create posts and topics.

รพ.เอกชน….หมอ ตัดสินใจอย่างไรไม่ให้ผิดหวัง(2002)

ไม่ได้เอาข้อมูล รพ.เอกชนมาให้นะครับ แต่อยากบอกผ่าน ถึงคำบอกเล่าของเพื่อนฝูงที่มีประสบการณ์ ที่ได้สัมผัสรพ.เอกชน ในฐานะผู้ทำงาน ไม่ใช่ผู้บริหาร เผื่อบางท่านที่อยากสัมผัส จะได้พอทราบ … เรื่องลึก ๆ คงมีท่านอื่นที่มีประสบการณ์มากกว่ามาบอกเล่าเอง

อยู่รพ.เอกชนดีไหม

คำถามยอดฮิตที่สุด เวลาเพื่อนไปเจอเพื่อนที่ทำงาน รพ.เอกชน บางครั้งไม่รู้จะถามอะไรก็ถามคำถามนี้ ส่วนใหญ่เพื่อนก็มักจะถามกลับว่า อยู่ราชการล่ะ ดีไหม หรือ ไม่ก็ตอบว่า ก็พองั้น ๆ แหละ

สังเกตว่า ช่วงหลังๆ นี้ เริ่มมีการถามจากเพื่อน ๆ ที่รับราชการอยู่มากขึ้น กะว่าพอได้คำตอบที่น่าพอใจสักสองสามคนก็คงออกมา หรือเปล่า ไม่แน่ใจ แต่อยากให้มีข้อคิดเตือนใจ ที่เป็นประสบการณ์จากคนที่เคย หรือกำลังอยู่รพ.เอกชนมาก่อน อย่างน้อยจะได้คิดอีกหลายตลบก่อนที่จะตัดสินใจ

1. ถ้าจะมาอยู่ เลือกให้ดี เลือกให้ดีนี้ยากมาก ถึงมากที่สุด ! คงต้องถามจากหลาย ๆ ความเห็น จากคนที่เคยอยู่ หรือกำลังอยู่รพ.ที่หมายตาไว้ นี่ยังไม่พูดถึงทำเลที่ตั้ง ความใกล้บ้าน การเดินทาง จิปาถะ การตัดสินใจโดยดูจากคำโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ หรือถามคนอื่นว่าที่นี่เงินดี แล้วโทรไปคุยกับผู้บริหารเอง ถือว่าตัอสินใจผิดที่สุด….เพราะอะไร แน่นอน สิ่งที่แสดงออกกับสิ่งที่เป็นจริงภายในย่อมไม่เหมือนกัน สิ่งที่แนะนำอีกอย่างก็คือลอง post กระทู้ถามที่ webboard ของหมอ ยอดนิยมต้องนี่ไทยคลินิคเมื่อประมาณสามสี่เดือนที่แล้วก็มีการสอบถามกัน และมีเพื่อนผู้มากประสบการณ์มีข้อมูลพร้อมจะส่งต่อให้

ในกรณีที่เปิดเจอรพ.ที่รับสมัครหมอ คำถามจี้จุดที่ต้องถามมากที่สุดกับผู้บริหารคือ หมอคนเก่าออกเพราะอะไรทำไมต้องเอาหมอเพิ่ม จดไว้ แล้วถามกับหมอที่ออกไปว่าเพราะอะไร แล้วถามกับ ผู้ร่วมงานอื่น ๆ ว่าเพราะอะไร ถ้าคำตอบตรงกัน วิเคราะห์ได้สองอย่างคือมีการเตี๊ยมกันไว้ หรือเป็นคำตอบที่เป็นจริง ถ้าคำตอบไม่ตรงกัน ดูว่าจะเชื่อใคร (ส่วนใหญ่ควรจะเชื่อคนกลางมากกว่า แต่ต้องกลางจริง ๆนะ)

การเลือกทำเลก็สำคัญ ลองมานั่งที่ opd วิเคราะห์ผู้ป่วย จำนวนคนไข้ใน ลองดูอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือ อันนี้คิดว่าทุกท่านคงทำอยู่ ผู้ร่วมงาน สำคัญมาก ถ้ายังไม่ได้ทำงานร่วม อาจยังไม่รู้นิสัย นี่คือความยากของการตัดสินใจ เพราะเอกชน ส่วนใหญ่ทุกคนจะมีผลประโยชน์ หมอเข้าไปใหม่ ก็เหมือนไปแชร์ผลประโยชน์เขา ทำให้เขาได้น้อยลง ถ้าผู้ร่วมงานใจคับแคบ การทำงานก็ไม่มีความสุข แก่งแยกกัน เสียบรรยากาศ คนเสียเปรียบคือเรา เพราะยังไม่มีฐานคนไข้ ช่วงเวลานี้ก็จะยากลำบาก บางคนก็อาจทนไม่ไหว อึดอัด

2. มุมมองของผู้บริหาร แตกต่างกับหมออย่างสิ้นเชิง เหมือนหน้ามือเป็นหลังมือ เป็น conflict ที่อยู่คู่กับรพ.เอกชนมาทุกยุคทุกสมัย และจะยิ่งมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากมีผู้บริหารมืออาชีพมามากขึ้น ในบางรพ.เอกชน ไม่ได้มองว่าหมอคือเพชร แต่เหมือนเป็นคนทำงานให้เฉยๆ  
ผมจะให้มองมุมมองของรพ.รัฐบาลก่อน

รพ รัฐบาล
มุมมองผู้บริหาร: ผ่าน 5ส HA
– ประหยัดต้นทุน ใช้เงินและแพทย์ให้คุ้ม
– ยังไม่ต้องถึงกับตั้งหน่วยธุรกิจ ยังมีการสงเคราะห์ บ้าง
– เกือบจะผูกขาด แทบไม่ต้องแข่งกับใคร แข่งกับตัวเอง และไม่ให้ขาดทุน เรื่องเอากำไร ยังอยู่ห่างไกล

มุมมองของหมอราชการ
– ยังคำนึงถึงวิชาการ อุดมการณ์ ความมั่นคงของชีวิต(ที่ตอนนี้เริ่มคลอนแคลน?)
– ขอให้ให้เกียรติกัน ทำงานหนักหน่อยไม่เป็นไร เงินเดือนตายตัวเท่าเดิมอยู่แล้ว รักษาคนไข้ให้ดีไว้ก่อน(อันนี้บางที่ ผมเองยังค้านนะ )
– ส่วนหนึ่งปฏิเสธไม่ได้เลยว่าหวังไต่เต้าตำแหน่งบริหาร หรือราชการเช่นมหาวิทยาลัย เป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูล
ที่จริงยังมีอีกมาก เอาเท่าที่เกี่ยวกับเรื่องนี้แล้วกัน

มุมมองของผู้บริหารรพ.เอกชน
– ทำอย่างไรก็ได้ให้รพ.อยู่รอด แล้วแถมเลยจะเอากำไรด้วย นั่นเป็นสิ่งสุดยอด ลองถามผู้บริหารดูว่าระหว่างได้คำชมเชยว่ารักษาคนไข้ฟรีได้บุญ กับรักษาคนไข้ได้กำไร เขาเลือกอะไร?
ประเทศเราถูกผลักดันเข้าสู่เศรษฐกิจเสรีแบบทุนนิยมเต็มตัว เป้าหมายที่สำคัญของรพ.ก็คือเป้าหมายเดียวกับบริษัททั้งหลาย คืออยู่รอด และมีกำไร (2002 อันนี้ในมุมมองเก่าๆ ขนาดถ้าใครเคยได้ยินเรื่อง balanced score card ก็คงจะทราบ ยอดสุดของ balanced score card คือผู้ถือหุ้นมีความพอใจ และมีกำไรอยู่ยั่งยืน )
หมอที่เข้ามาอยู่ถ้าจะปรับตัว ก็ต้องปรับเข้ากับจุดนี้ หรือไม่ก็ผันตัวเองเป็นผู้บริหาร แล้วหลังจากนั้น หมอคนนั้นก็จะมีพฤติกรรมเปลี่ยนไปเข้ากับองค์กรได้ ถ้าหมอปรับตัวไม่ได้ อยู่ยาก
– ในมุมมองของผู้บริหาร หมอก็เป็นทรัพยากรหนึ่งเหมือนกับเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ที่มีการปฎิบัติต่อเฉก เช่นเดียวกัน ในบางแห่ง ยังพอให้เกียรติหรือเคารพบ้าง ในบางแห่งโดยเฉพาะที่ผู้บริหารเป็นเจ้าของเอง และหรือเป็นหมอเอง ต้องระวังเรื่องการให้เกียรติ ให้ดี
การปฏิบัติต่อหมอแบบบุคลากรทั่วไปก็คือ ถ้าส่วนไหนมีกำไร ต้องการพัฒนาแล้วขาดคน ก็เพิ่มคน เพื่อเพิ่มยอดรายได้ให้มากขึ้น มากขึ้น

– บางที่ร้ายหนักกว่า คิดว่าหมอเป็นรายจ่ายของรพ. และเป็นส่วนที่ในทางบัญชี ไม่ถือว่าเป็นทุน แต่ใช้หักภาษีของรพ.ได้ ถ้าประหยัดไม่ต้องจ่ายให้หมอได้จะยิ่งดี ในขณะที่การหักภาษีต้องเต็มที่ ถ้าหากไปเจอที่นั่นเข้า ตัวใครตัวมัน
มุมมองของหมอเอกชน
– หมอเอกชนต้องการความมั่นคง มีฐานคนไข้ ส่วนใหญ่ไม่ต้องการมีการ share คนไข้ออกไปเรื่อย ๆ ทุกปี ทุกปี ไม่โตเสียที ในขณะที่รพ.โตเอา โตเอา หมอมากขึ้น นี่เป็นเหตุผลว่าบรรยากาศการทำงานร่วมในบางที่ ต้องเสียไปอย่างน่าเสียดายโอกาส
รายได้ของหมอ ส่วนใหญ่ระบบรพ.เอกชนตอนนี้ไม่มี minimum guarantee คือทำเท่าไรได้เท่านั้น 
– หมอเอกชนส่วนใหญ่ยังแคร์คนไข้เสมอ (ส่วนน้อยที่ไม่แคร์) คนไข้มาหาหมอ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเขาพอใจหมอ หมอบางท่านตระหนักถึงการบวกราคาที่มากเกินไปในบางรพ. ที่บวกเพิ่มต้นทุน โดยเฉพาะค่ายา มากเกินเหตุ และเนื่องด้วยเห็นใจคนไข้ จึงเกิด conflict นี้แล้วไม่เข้าใจว่า ทำไม รพ.จึงต้องบวกเพิ่มมากเช่นนี้ และบางท่านถึงกับแนะนำไปซื้อยาเองข้างนอก หมอก็มีความคับข้อง คนไข้ก็คับข้อง รพ.เองก็คับข้อง เกิดเป็นภาวะที่มีแต่คนแพ้ได้โดยง่าย โดยเฉพาะการรักษาที่มีราคาแพง หมอต้องเป็นคนรับหน้ากับคนไข้ ในขณะที่รพ.รับเงิน conflict นี้ต้องเข้ามาดูลึก ๆ จึงเห็น

หมอเอกชนเป็นคนทำหน้าที่กลางๆระหว่าง คนไข้ บริษัทประกัน และ รพ. ต้องสามารถบาลานซ์ได้ 

การบรรลุถึงหนทางแก้ข้อขัดแย้งนี้จะว่าง่ายก็ง่าน จะว่ายากก็ยาก เกือบร้อยทั้งร้อยขึ้นกับผู้บริหาร ถ้าผู้บริหารใช้ทฤษฎีถือว่าทุกคนเลวหมด หรือใช้หลักแบ่งแยกแล้วปกครอง ก็คงไม่มีทางแก้ ถ้ายึดหลักใจดีเกินไป ก็แก้ได้ยากอีก 
ถ้าไม่มาบริหารเอง ก็เป็นลูกจ้าง สองอย่างเท่านั้น ในรพ.เอกชน อาจเป็นลูกจ้างกิติมศักดิ์หน่อย ก็คือไม่ต้องลงเวลา มีสิทธิ์มีเสียงมากกว่า ไม่มีสัญญาจ้างงาน อาจมีบ้างสัญญาเช่าสถานที่ แต่เวลาเกิดการฟ้องร้อง อาจปวดหัวกว่า เพราะไม่มีสัญญา (ได้มีการยกเลิกสัญญาการว่าจ้างแพทย์มาตั้งแต่สมัยพระเจ้าเหาแล้วเนื่องจากมีผลทางด้านภาษี )และเกิดอะไรขึ้น รพ.อาจลอยตัวเพราะ ไม่มีสัญญาอะไร เรื่องเกิดขึ้นระหว่างคนไข้กับหมอ! เท่านั้นเอง รับไปเลยเต็ม ๆ

การจะอยู่อย่างมีความสุขในรพ.เอกชนได้มีหลักดังนี้คือ

  •  ปรับตัวให้เข้ากับธุรกิจของเขาในขณะที่เราก็ไม่ทิ้งคุณธรรม
  • ปรับตัวต่อเพื่อนร่วมงาน อดทน
  • ระมัดระวังตัว ต่อความผิดพลาด first do no harm
  • ประกันความคุ้มครองทางการแพทย์ต้องมี
  • พอใจในสิ่งที่ตนมี อย่าไปเปรียบเทียบอะไรกับใคร
  • อย่าหวังรวยเร็วเกินไป

ความไม่พอเป็นทุกข์อย่างที่สุดครับ ทั้งต่อตนเอง ครอบครัว และเพื่อนร่วมงาน