ไทยเฮลท์ สุขภาพไทย webboard

เว็บไซต์ถามตอบปัญหาสุขภาพ ข่าวสุขภาพ เกี่ยวกับโรค อาการ ยา การดูแลตนเอง โดยแพทย์เฉพาะทางอายุรกรรม ข่าวสุขภาพของไทยและข่าวสารต่างประเทศ . The health webboard provides health advice, allowing users to ask health-related questions and get answers from our team of doctors (MD, Internists). It also features health news from Thailand and around the world.

Live Update รีวิวอหิวาตกโรค cholera

Please or Register to create posts and topics.

ภาวะพิษจากสารเคมี

ภาวะพิษจากสารเคมีปัจจุบันพบได้บ่อย. การรักษาต้องทำอย่างถูกต้องและ รีบด่วน เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยรอดพ้นจากอันตรายในช่วงวิกฤต, สิ่งสำคัญอันดับแรก ได้แก่การวินิจฉัยว่าผู้ป่วยได้รับอันตรายจากพิษของสารใด, เกิดขึ้นโดยอุบัติเหตุ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ จงใจกิน ถูกวางยา หรือจากการประกอบอาชีพ. ความเจ็บป่วย ที่เกิดขึ้นเนื่องจากภาวะพิษเช่นนี้ถือว่าเป็น “คดี” และอยู่ในความรับผิดชอบของสาขา พิษวิทยา ภาควิชานิติเวชศาสตร์, อันดับต่อไปจึงเป็นการรักษา, ซึ่งแบ่งเป็น 2 ระยะคือ การรักษาเบื้องต้น และการรักษาภายหลังจากได้รับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาล

การวินิจฉัยโรค

การวินิจฉัยโรคต้องกระทำอย่างรวดเร็วทันทีที่พบผู้ป่วย หรือในระหว่างที่ ให้การปฏิบัติรักษาผู้ป่วยในเบื้องต้น, หลักการก็เช่นเดียวกันกับการวินิจฉัยโรคที่มี สาเหตุอย่างอื่น ๆ, แต่มีรายละเอียดในการเก็บข้อมูลดังนี้

1. ประวัติ

ต้องหาข้อมูลต่อไปนี้

ชื่อของสารพิษ อาจเป็นชื่อทางการค้าหรือชื่อสามัญ, เพื่อเป็นแนวทาง ค้นหาว่าเป็นสารจำพวกใดหรือกลุ่มใด และเพื่อจะได้ทราบถึงการออกฤทธิ์หรือพิษที่ เกิดขึ้น

ทางที่สารพิษเข้าสู่ร่างกาย

ปริมาณสารพิษที่ได้รับ ข้อมูลนี้นับว่าสำคัญยิ่ง เพราะจะช่วยพยากรณ์โรค ได้ตั้งแต่เริ่มแรกและช่วยในการวางแผนการรักษาที่เหมาะสม

ระยะเวลาตั้งแต่ได้รับสารพิษและตั้งแต่มีอาการผิดปรกติเกิดขึ้น จนกระทั่ง นำส่งโรงพยาบาลเป็นเวลานานเท่าใด.

ได้รับการปฏิบัติรักษาเบื้องต้น หรือไม่, โดยวิธีการอย่างไร.

อาการผิดปรกติที่เกิดขึ้นโดยละเอียดเป็นลำดับ เพื่อพิจารณาว่าเข้ากันได้ กับอาการพิษจากสารใด.

ในรายที่มีอาการรุนแรงถึงขั้นหมดสติ แพทย์ไม่สามารถซักประวัติได้จาก ผู้ป่วย, ข้อมูลต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นอาจไม่มีเลย. ในกรณีเช่นนั้นแพทย์จำต้องใช้ ความรู้ความสามารถและหาข้อมูลอย่างอื่นประกอบ

ตัวอย่างสารพิษพร้อมภาชนะที่บรรจุ ถ้าผู้นำส่งหรือญาติสามารถนำมาแสดงก็ง่ายสำหรับแพทย์ที่จะวินิจฉัยได้ถูกต้องและรวดเร็ว เพราะสามารถทราบชื่อ และสูตรทางเคมีได้จากฉลากที่ติดอยู่กับภาชนะที่บรรจุ, หากทราบเพียงชื่อทางการค้า ก็ต้องค้นหาชื่อทางเคมีของสารพิษดังกล่าวนั้น (เอกสารที่เป็นประโยชน์สำหรับค้นชื่อ ทางการค้าสารเคมีปราบศัตรูพืชว่าเป็นกลุ่มใด ตีพิมพ์ในหนังสือ “พิษวิทยาคลินิค : ยาปราบศัตรูพืช” ของโครงการตำรา-ศิริราช, พ.ศ. 2529).

กลิ่นสีและรส สารพิษแต่ละชนิดมีคุณสมบัติประจำแตกต่างกัน, สามารถ นำมาเป็นข้อมูลช่วยการวินิจฉัยได้. ตัวอย่างเช่น พาราไธออน (parathion) ชนิด เข้มข้นมีสีน้ำตาล, กลิ่นเหม็นชวนอาเจียน, เมื่อละลายอยู่ในน้ำล้างกระเพาะอาหาร มีสีเหลืองขุ่น ต่อมากลายเป็นสีขาวขุ่นแล้วค่อย ๆ จางลง, แม้ว่าจะล้างจนกระทั่งน้ำใส แต่กลิ่นยังคงอยู่. ส่วนพาราควอท (paraquat) เป็นน้ำยาสีน้ำเงิน, กลิ่นฉุนเล็กน้อย, รสเผ็ดและขม, ลักษณะสังเกตได้ชัดเจนเพราะผู้ป่วยจากพิษของสารนี้ไม่หมดสติ จึงสามารถบอกถึงรสและสีได้ถูกต้อง. นอกจากนั้นน้ำที่ล้างกระเพาะอาหารจะเป็น สีน้ำเงินและฟ้าตามลำดับ. สารพิษอีกชนิดหนึ่งคือน้ำมันระกำ (methyl salicylate) มี กลิ่นที่แพทย์เคยชินเป็นอย่างดี, เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในน้ำมันหรือครีมทาแก้ปวด สารหรือยานวดชนิดนี้มีอันตราย เพราะผู้ป่วยอาจตายได้ถ้าได้รับแม้ปริมาณน้อย เพียง 6 มล.

2. อาการและอาการแสดง

าอาการและอาการแสดงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการวินิจฉัยโรค โดยเฉพาะ รายที่ได้ประวัติการถูกสารพิษไม่ชัดเจน และไม่สามารถทำการตรวจวิเคราะห์เพื่อ ยืนยัน. ข้อมูลที่อาจเป็นแนวทางให้สามารถวินิจฉัยสาเหตุเนื่องมาจากสารพิษชนิดใด

อาการและอาการแสดงที่ช่วยในการวินิจฉัยสาเหตุของภาวะพิษ

อาการและอาการแสดง

สาเหตุของภาวะพิษ

ภาวะหมดสติ (อาจมีอาการชัก

ร่วมด้วย)

organophosphate, carbamate, organochlorine,

hydrocabon, sedative, hypnotic, tranquilizer, carbon monoxide, การบูร

ภาวะตัวเขียว

aniline, sulfone, asphyxiant gas

ภาวะเหลือง

carbon tetrachloride, trichlorethylene,

chlorobenzene, paracetamol

ภาวะซีด

lead, benzene

ภาวะไข้

2,4-dichlorophenoxy acetic acid

อาการปวดท้องแบบ colic

lead, thallium, methyl bromide

อาการอัมพาต

arsenic, lead, tri-ortho cresyl phosphate

อาการหอบหืด

byssinosis, toluene-diisocyanate, กากละหุ่ง (castor bean dust)

มะเร็งปอด

asbestos, arsenic, nickel

มะเร็งผิวหนัง

arsenic

อาการผิดปรกติทางจิต

carbon disulphide, manganese

3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

ผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับอันตรายจากสารพิษ, โดยเฉพาะจากการกิน, จะต้องเก็บตัวอย่าง สารพิษ น้ำล้างกระเพาะอาหาร หรือ เลือด (ประมาณ 10 มล.) พร้อมระบุเวลาและวันที่เจาะไว้ให้ชัดเจน, และปัสสาวะ (ประมาณ 100 มล.) (อาจนำส่ง “ศูนย์พิษวิทยา” ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล หรือ ของ รพ.รามาธิบดี).

สารพิษหลายชนิดต้องอาศัยเลือดเพื่อการตรวจวิเคราะห์, ซึ่งไม่เพียงแต่ ช่วยยืนยันการวินิจฉัยโรค แต่ยังช่วยการพยากรณ์โรคและเป็นแนวทางในการรักษ ถ้าเกิดภาวะพิษจาก salicylate และ paracetamol ต้องบอกเวลาที่เจาะเลือดว่าหลัง กินยานานเท่าใด. สำหรับพาราควอทสามารถวิเคราะห์พบในเลือดใน 2-3 วันแรก. ส่วน carboxyhemoglobin และ methemoglobin ต้องเจาะในช่วงที่มีอาการแล้ว ปิดฝาหลอดบรรจุเลือดให้สนิท. cholinesterase ต้อง เจาะเป็นระยะ ๆ ตามความเหมาะสม, เช่น ในวันแรกเจาะทุก 4-6 ชั่วโมง, ต่อมา เจาะวันละ 2 ครั้ง, และวันละ 1 ครั้ง, จนกระทั่งผู้ป่วยหายเป็นปรกติ. สำหรับสาร ตะกั่ว การเจาะเลือดให้ใช้กระบอกฉีดยาพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง เพื่อป้องกัน มิให้เกิดการเจือปนด้วยสารตะกั่วจากภายนอก.